วันศุกร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ขายเครื่องอัดก้อนเชื้อเห็ด เครื่องผสมขี้เลื่อย ตู้นึ่งก้อนเชื้อเห็ด อุปกรณ์ทำเห็ดทุกชนิด ในชลบุรี

ขายเครื่องอัดก้อนเชื้อเห็ด เครื่องผสมขี้เลื่อย ตู้นึ่งก้อนเชื้อเห็ด อุปกรณ์ทำเห็ดทุกชนิด ในชลบุรี


เครื่องอัดก้อนเห็ด 8 หัว


เครื่องอัดก้อนเห็ด 1 หัว


เครื่องผสมขี้เลื่อย


ตู้นึ่งก้อนเชื้อเห็ด


ชั้นสำหรับพักเห็ด


ตะแกรงสำหรับอบ






รับซื้อ เห็ดนางฟ้าภูฐาน ไม่อั้น ในชลบุรี

รับซื้อ เห็ดนางฟ้าภูฐาน ไม่อั้น ในชลบุรี

รับซื้อเห็ดนางฟ้าภูฐาน ไม่อั้น!!!! ให้ราคาดี  จ่ายเงินสด ไปรับถึงที่มีการประกันราคา  รับซื้อตลอดทั้งปีมีรถไปรับถึงที่เฉพาะเขตชลบุรี

จำหน่ายก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าภูฐาน ปลีก และส่ง ในชลบุรี

จำหน่ายก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าภูฐาน ปลีก และ ส่ง
ผลิตและจำหน่ายก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าภูฐาน เห็ดฮังการี เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดหูหนู เห็ดโคนญี่ปุ่น,เห็ดขอน เห็ดฟาง 
ราคาถูก คุณภาพดี เชื้อเดินเต็มก้อน พร้อมเปิดดอก หรือก้อนที่หยอดเชื้อใหม่ ราคาตั้งแต่ 6.00 - 10.00 บาท 
( ราคายังไม่รวมค่าขนส่ง ) พร้อมให้คำแนะนำปรึกษาและมีตัวอย่างฟาร์มให้เข้าเยี่ยมชม

การนึ่งฆ่าเชื้อก้อนอาหารเห็ดและการเขี่ยเชื้อเห็ด

การนึ่งฆ่าเชื้อก้อนอาหารเห็ดและการเขี่ยเชื้อเห็ดนางฟ้าภูฐาน

ขั้นตอนการนึ่งก้อนอาหารเห็ด
            หม้อนึ่งลูกทุ่ง  เป็นการนึ่งแบบพาสเจอร์ไรซ์   โดยนึ่งให้ได้อุณหภูมิ  90 – 100  องศาเซลเซียส  คือ  ใช้น้ำเดือดธรรมดา  มีขั้นตอนนึ่งดังนี้
            1.   จัดเตรียมบริเวณสถานที่ที่จะใช้นึ่งควรมีหลังคากันฝนด้วย  เพราะกันเปียกไฟจะดับทำให้การนึ่งไม่สุกจะทำให้ก้อนเชื้อเสียเมื่อได้บริเวณสถานที่แล้วก็จัดเตรียมเตาที่จะใช้นึ่ง
            2.   นำถังนึ่งขึ้นตั้งบนเตา  สวมตะแกรงลงไปข้างในถังนึ่งใส่น้ำ  กะประมาณ        3  ส่วน  4  ของท่อนแรกในถังนึ่ง  (ถังนึ่งลูกทุ่ง  หรือถังน้ำมันแบบ  200  ลิตร  จะมีรูปทรงแบ่งออกเป็น  3  ท่อนหรือแบ่งเป็น  3  ช่วง  เราจะใส่น้ำ  3  ใน  4  ของช่วงแรกเท่านั้น)  หรือจะให้ใส่ปริ่มตะแกรง
            3.   ผนังด้านในของถังนึ่งต้องปูด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ให้ทั่วข้างในถังให้มิด เพื่อป้องกันความร้อนจากถังที่เป็นโลหะ  ไม่ให้สัมผัสกับถุงก้อนเชื้อที่นึ่งเพราะถ้าสัมผัสขณะร้อนจัดถุงก้อนเชื้อจะขาด  ใช้ไม่ได้ต้องทิ้ง
            4.   เรียงถุงก้อนเชื้อที่เตรียมไว้ลงในหม้อนึ่ง  ต้องเรียงให้มีระเบียบสวยงาม  โดยเรียงเป็นชั้น ๆ  ให้ก้อนเชื้อตั้งเอาปากถุงขึ้นบน  ถ้าให้พอดีสวยควรเรียงให้ได้ประมาณ           60 – 70  ถุง
            5.   เมื่อเรียงก้อนเชื้อเต็มถังนึ่งแล้ว  ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ปิดบนกระดาษที่เหลือออกมาตามขอบถังนึ่งให้เก็บพับเข้าไปให้เรียบร้อย  เพื่อป้องกันไฟลามเมื่อก่อไฟลุกเต็มที่
            6.   ปิดฝาถังนึ่งให้มิดชิด
            7.   ก่อไฟ
            8.   คอยใส่ไม้ฟืนอยู่ตลอดอย่าให้ไฟดับหรือถ้านึ่งด้วยเตาแก๊สก็ให้ไฟร้อนสม่ำเสมอ  อย่าให้ไฟเตาแก๊สดับ  สังเกตเมื่อถังมีไอพุ่งขึ้นเริ่มจับเวลา  จากที่ไอน้ำไปประมาณ  2 – 3  ชั่วโมง  โดยเติมเชื้อเพลิงอย่างสม่ำเสมอสังเกตดูจากน้ำที่พุ่งออกมาจาก   รูระบายไอให้ได้ระดับเดียวกันตลอดเวลา  หากไฟดับหรือไม่มีไอน้ำออกมาจะต้องเริ่มนับเวลาใหม่
            9.  เมื่อถังนึ่งเดือดติดต่อกัน  2 – 3  ชั่วโมง  แล้วทิ้งถังนึ่งต่อไปโดยไม่ต้องใส่เชื้อเพลิงทิ้งไว้ให้ถังนึ่งเย็นซึ่งต้องใช้เวลาหลายชั่วโมง  เมื่อถังนึ่งเย็นสนิทแล้วเปิดฝาถังน้ำก้อนเชื้อเห็ดที่นึ่งสุกแล้วออกมาวางไว้ในสถานที่ที่สะอาดร่ม  ปล่อยทิ้งให้เย็นจึงขนย้ายไปในห้องเขี่ยเชื้อเพื่อรอการเขี่ยเชื้อต่อไป

วิธีการเขี่ยเชื้อเห็ด 
           วางก้อนเชื้อเรียงกันให้สามารถทำงานได้สะดวกรวดเร็ว  เปิดเอากระดาษที่หุ้มสำลีหรือฝาครอบพลาสติก  แต่ยังไม่ต้องดึงจุกสำลีออก  และระวังไม่ให้สำลีออกจากคอขวด
ควรเช็ดมือด้วยแอลกอฮอล์ให้ทั่ว  เลือกเอาหัวเชื้อเมล็ดข้าวฟ่างจากขวดที่เส้นใยเพิ่มเจริญเติบโตทั่วทั้งขวดใหม่ ๆ  ไม่มีเชื้ออื่นขึ้นปะปน  ไม่แก่จนเกินไปเส้นใยรวมตัวเป็นน้ำย่อยสีเหลือง  ใช้ขวดกระแทกกับไม้หรือพื้นเบา ๆ   ให้เมล็ดขยับตัวแล้วแผ่ให้ร่วน  ในช่วงนี้ถ้าหัวเชื้อถูกเขย่าแล้วไม่ร่วนแยกออกจากกัน  ให้ใช้ช้อนด้ามยาวที่เช็ดแอลกอฮอล์จนทั่วแล้ว  เปิดจุกสำลีออกแล้วเขี่ยเมล็ดข้าวฟ่างด้วยช้อนให้แตกร่วนได้
ใช้มือข้างหนึ่งดึงจุกสำลีจากปากถุงก้อนเชื้อออกเทเมล็ดข้าวฟ่างที่มีเชื้อเห็ดลงไปในถุงก้อนเชื้อประมาณ  15 – 20   เมล็ด  การเทหัวเชื้อลงในถุงก้อนเชื้อต้องทำอย่างรวดเร็ว  จากนั้นจึงรีบปิดปากถุงด้วยสำลีเช่นเดิมทันที  ไม่ต้องใช้กระดาษปิดทับอีกแต่ควรมั่นใจว่าปิดจุกสำลีได้แน่นพอ
ถุงต่อไปก็ทำเช่นเดียวกัน  ทุก ๆ  3 – 4  ถุง  ควรลนไฟฆ่าเชื้อที่ปากขวดด้วยตะเกียงแอลกอฮอล์ครั้งหนึ่ง  ในทางปฏิบัติฟาร์มเห็ดทั่วไป  จะใช้คนงาน  2  คน  ช่วยกันทำโดยที่คนหนึ่งคอยเปิดจุกก้อนเชื้อ  อีกคนหนึ่งเทเชื้อลงไป  จะทำให้งานเสร็จเร็วและแม่นยำขึ้น
หัวเชื้อเห็ดที่เปิดขวดออกมาแล้ว  ควรใช้ให้หมดไป  หากมีเหลือไม่ควรนำกลับมาใช้อีก  เพราะเชื้ออาจเสียไปแล้วได้  เฉลี่ยแล้วหัวเชื้อขวดหนึ่ง  จะทำก้อนเชื้อได้ประมาณ  50  ถุง  บางแห่งอาจใช้หัวเชื้อเพิ่มมากกว่านี้  คือ  ทำได้  25 – 30   ถุงต่อเชื้อหนึ่งขวด  ทั้งนี้เพื่อให้เชื้อเจริญดีและแข็งขันขึ้น
โรงเรือนหรือสถานที่เขี่ยเชื้อเห็ด
          ถุงเชื้อเห็ดที่ได้นึ่งฆ่าเชื้อแล้ว  จะถูกนำไปทำการเขี่ยเชื้อในบริเวณส่วนของ          โรงเรือนที่สะอาด  สงบลมหรือจัดบริเวณส่วนหนึ่งส่วนใดภายในโรงเรือนที่สะดวกต่อการทำงาน  บางทีอาจจัดบริเวณในโรงเรือนให้เป็นที่เขี่ยเชื้อโดยเฉพาะ  เช่น  ในระดับการผลิต  2,000   ถุงต่อวัน  อาจทำเป็นห้องเขี่ยขนาด  20  ตารางเมตร  สูง  2.5  เมตร  พื้นห้องปูด้วยกระเบื้องเคลือบสีขาวแผ่นใหญ่หรือแผ่นโฟไมก้า  เพื่อลดการดูดซึมความชื้นและฝุ่นละออง  สะดวกต่อการทำความสะอาด  ติดตั้งหลอดอุลตร้าไวโอเลตขนาด  30  แรงเทียน  จำนวน  3  หลอดตรงเพดาน  ให้วางขนานกับความยาวของห้องห่างกันจุดละประมาณ  2  เมตร  ผนังด้านข้างติดเครื่องกรองอากาศชนิดกรองเชื้อจุลินทรีย์ได้  1 – 2  เครื่อง  เพื่อช่วยดูดและกระจายอากาศให้บริสุทธิ์ก่อนเข้าไปในห้องนี้
ขั้นตอนการปฏิบัติ 
        1.   เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม
        2.   ล้างทำความสะอาดมือ  เช็ดมือด้วยแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อโรค
        3.  ใช้แอลกอฮอล์เช็ดทำความสะอาดฆ่าเชื้อ  เข็มเขี่ยเชื้อเห็ด  ปากขวดเชื้อ  พื้นบริเวณที่จะปฏิบัติการเขี่ยเชื้อเห็ดให้สะอาด
        4.   จุดเทียนลนฆ่าเชื้อช้อนเขี่ยเชื้อให้ปลอดเชื้อโรคที่ติดมา
        5.   เปิดฝาขวดเชื้อลนไฟที่ปากขวด  เช็ดก่อนแล้วจึงใช้ไม้เขี่ยเชื้อเข้าไปย่อยกระจายเชื้อเห็ดข้าวฟ่างที่อยู่ในขวดให้ร่วน
        6.   เปิดปากถุงก้อนอาหารเห็ด  แล้วเทเชื้อเห็ดจากขวดเชื้อลงในถุงก้อนอาหารเห็ด  ถุงละประมาณ  20  เมล็ดข้าวฟ่าง
        7.   รีบปิดฝาถุงก้อนเชื้อให้สนิทโดยใช้กระดาษ   ยางรัดอันเดิมเพราะนึ่งปลอดเชื้อโรคแล้ว
         8.   ทำการเขี่ยเชื้อเห็ดถุงต่อ ๆ  ไปเหมือนขั้นตอนเดิม

การเพาะเห็ดในถุงพลาสติก

การเพาะเห็ดนางฟ้าภูฐานในถุงพลาสติก

เห็ดที่นิยมเพาะในถุงพลาสติกส่วนมาก ได้แก่ เห็ดสกุลนางรม(เช่น นางฟ้า นางรม ภูฏาน เป๋าฮื้อ นางนวล ฮังการี) เห็ดหูหนู เห็ดหอมเห็ดตีนแรด เห็ดหลินจือ เห็ดขอนขาว เห็ดกระด้าง เห็ดยานางิ เป็นต้น เห็ดเหล่านี้สามารถเพาะได้บนวัสดุหลายชนิด โดยเฉพาะขี้เลื่อย หรือใช้อาหารหมักจากฟาง

วัสดุและอุปกรณ์
1. อาหารเพาะ
2. หัวเชื้อเห็ด
3. ถุงพลาสติกทนร้อน ขนาด 7 x 11 นิ้ว หรือ 9 x 13
4. คอพลาสติก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 – 1.5 นิ้ว
5. ฝ้าย หรือสำลี ยางรัด
6. หม้อนึ่งไม่อัดความดัน หรือหม้อนึ่งความดัน
7. โรงเรือนหรือสถานที่ บ่มเส้นใย และเปิดดอก

การเตรียมอาหารเพาะ
สูตรที่ 1:
ขี้เลื่อยแห้ง 100 กิโลกรัม
รำละเอียด 3 -4 กิโลกรัม
ดีเกลือ 0.2 กิโลกรัม
ปูนขาว หรือแคลเซียมคาร์บอเนต 1 กิโลกรัม
หรือเติมด้วยน้ำตาลทราย 2 – 3 กิโลกรัม
ผสมน้ำให้มีความชื้น 60 – 70 เปอร์เซ็นต์
คลุกผสมให้ทั่ว ใช้ทันที

สูตรที่ 2:
ขี้เลื่อยไม้เบญจพรรณ 100 กิโลกรัม
แอมโมเนียมซัลเฟต 1 กิโลกรัม
ปูนขาว 1 กิโลกรัม
หมักกับน้ำนานประมาณ 2 -3 เดือน
ผสมรำละเอียด 3 กิโลกรัม
น้ำตาลทราย 2 กิโลกรัม
ปรับความชื้น 60 -70 เปอร์เซ็นต์

สูตรที่ 3:
ฟางสับ 4 – 6 นิ้ว 100 กิโลกรัม
มูลวัว 25 กิโลกรัม
ยูเรีย 1 กิโลกรัม
รำละเอียด 5 กิโลกรัม
น้ำ
วิธีการ หมักฟาง มูลวัว ยูเรีย และน้ำ กองเป็นรูปสามเหลี่ยม เป็นเวลาประมาณ 15 วันโดยกลับกองทุกๆ 3 – 4 วัน นำมาผสมรำละเอียด คลุกให้ทั่วปรับความชื้นในกองปุ๋ยประมาณ 60 – 70 เปอร์เซ็นต์ หมักไว้1 คืน นำไปใช้ได้

สูตรที่ 4:
ฟางสับ 4 – 6 นิ้ว 100 กิโลกรัม
ยูเรีย 1 กิโลกรัม
แอมโมเนียมซัลเฟต 2 กิโลกรัม
หินปูน (CaCo3) หรือปูนขาว (Cao) 1 – 3 กิโลกรัม
ยิบซัม (MgSo4. 7H2O) 2 กิโลกรัม
ดับเบิลซุปเปอร์ฟอสเฟต 3 กิโลกรัม
น้ำ
วิธีการ หมักฟางกับน้ำประมาณ 2 วัน ผสมยูเรียหมักต่อ 2 – 3 วัน
ใส่แอมโมเนียมซัลเฟต หมักต่อ 2 – 3 วัน กลับกองหมัก 2 – 3 วัน
ใส่ปูนหรือปูนขาวหมัก 2 – 3 วัน นำไปใช้ได้
(ทุกครั้งที่มีการเติมปุ๋ยควรคลุกให้ทั่ว) โดยใส่ปุ๋ยหมักมีความชื้น 60 – 70 เปอร์เซ็นต์

สูตรที่ 5:
ฟางสับ 2 – 3 นิ้ว 100 กิโลกรัม
แคลเซียมคาร์บอเนต 2 กิโลกรัม
รำละเอียด 5 – 8 กิโลกรัม
ผสมน้ำให้มีความชื้น 60 – 70 เปอร์เซ็นต์
หมักส่วนผสมไว้ 8 – 10 วัน โดยกลับกองทุก 2 วัน

สูตรที่ 6:
ฟาง เปลือกถั่วเขียว เศษต้นถั่วเหลืองที่ใช้เพาะเห็ดฟางแล้ว
หมายเหตุ
1. การทำปุ๋ยหมักควรทำกองปุ๋ยให้สูงไม่น้อยกว่า100 เซนติเมตร
2. อาหารหมักที่นำไปใช้เพาะเห็ด ต้องไม่มีกลิ่นแอมโมเนียเหลืออยู่

เห็ดสกุลนางรมและเห็ดตีนแรด – ใช้อาหารได้ดีทั้งจากขี้เลื่อยและฟางหมัก โดยปรับความชื้นในอาหารเพาะ 60 – 70 เปอร์เซ็นต์
เห็ดหูหนู เห็ดยานางิ – ใช้อาหารเพาะจากขี้เลื่อยให้ผลผลิตดีโดยปรับความชื้นในอาหารเพาะ 60 – 70 เปอร์เซ็นต์
นอกจากนี้ยังมีวัสดุอื่นอีกหลายชนิด ที่สามารถนำมาใช้เพาะเห็ดสกุลนางรม นางฟ้า ได้ผลดี เช่น ชานอ้อย ซังข้าวโพด ขุยมะพร้าว เป็นต้น

วิธีการเพาะ
1. บรรจุอาหารเพาะลงในถุงพลาสติกทนร้อน กดให้แน่นตึง สูงประมาณ 2/3 ของถุง
2. รวบปากถุงบีบอากาศออกสวมคอพลาสติกหรือไม้ไผ่ แล้วพับปากถุงพาดลงมา รัดยางให้แน่น อุดด้วยสำลี หุ้ม ทับด้วยกระดาษหรือ ฝาครอบพลาสติก
3. นำไปนึ่งฆ่าเชื้อด้วยถังนึ่งไม่อัดความดัน หรือใช้หม้อนึ่งความดันอุณหภูมิ 90 – 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง ทิ้งไว้ให้ถุงเย็น
4. นำถุงวัสดุออกมาใส่เชื้อจากหัวเชื้อเห็ดที่เลี้ยงในเมล็ดข้าวฟ่าง ถุงละ ประมาณ 10 – 15 เมล็ด ก็เพียงพอ (โดยเขย่าเมล็ดข้าวฟ่างให้กระจายออก) เปิดและปิดจุกสำลีโดยเร็ว โดยปฏิบัติในที่สะอาดมิดชิดไม่มีลมโกรก
5. นำไปวางในที่สำหรับบ่มเส้นใย มีอุณหภูมิตามที่เห็ดแต่ละชนิดต้องการ ไม่จำเป็นต้องมีแสง ไม่ต้องให้น้ำที่ก้อนเชื้อจนเส้นใยเห็ดเริ่มรวมตัวกันเพื่อเจริญเป็นดอกเห็ด นำไปเปิดถุงให้ออกดอกต่อไป

สถานที่ หรือโรงเรือนสำหรับปิดดอก
ควรเป็นสถานที่สะอาด สามารถรักษาความชื้นและการถ่ายเทอากาศได้ดี ไม่ร้อน ภายในอาจทำชั้นวางก้อนเชื้อเห็ดหรือใช้แป้นสำหรับแขวนก้อนเชื้อ โรงเรือนสำหรับเปิดดอกควรให้มีขนาดที่สัมพันธ์กับจำนวนของก้อนเชื้อ เพื่อรักษาความชื้น และการถ่ายเทอากาศภายในโรงเรือน เช่น ขนาดกว้าง x ยาว x สูง = 3 x 4 x 2.5 เมตร

การปฏิบัติดูแล รักษา
เห็ดนางฟ้า นางรม ฮังการี ภูฏาน และนางนวล ใช้เวลาเจริญในระยะเส้นใยประมาณ 1- 1.5 เดือน เมื่อเส้นใยเริ่มรวมตัวกันถอดสำลีและคอขวด นำก้อนเชื้อไปวางในโรงเรือนเพื่อให้เกิดดอก รักษาอุณหภูมิความชื้นสัมพัทธ์ การถ่ายเทอากาศ ตามที่เห็ดต้องการ การให้ความชื้นภายในโรงเรือนไม่ควรให้น้ำขังอยู่ภายในก้อนเชื้อ และไม่ควรให้ถูกดอกเห็ดโดยตรง ถ้าจำเป็นควรให้เป็นละอองเห็ดหูหนู ใช้เวลาในระยะเส้นใยประมาณ 1.5 – 2 เดือน จากนั้นถอดสำลีและคอขวด มัดปากถุงปิดไว้ กรีดข้างถุงเป็นระยะเพื่อให้เกิดดอก การให้ความชื้นสามารถให้น้ำที่ก้อนเชื้อและดอกเห็ดได้ ควรให้น้ำเบา ๆ มิฉะนั้นดอกเห็ดอาจจะช้ำและเน่าเสียได้ง่าย โรงเรือนควรมีการถ่ายเทอากาศที่ดี เห็ดเป๋าฮื้อใช้เวลาเจริญในระยะเส้นใยประมาณ 1.5 – 2 เดือน เมื่อเส้นใยถูกกระทบกระเทือนหรือถูกแสงมาก ๆ ทำให้เกิดเม็ดหรือตุ่มสีดำ ซึ่งถ้าเกิดมากจะทำให้ได้ผลผลิตน้อยลง วิธีการเปิดถุงให้ออกดอก และการดูแลรักษาปฏิบัติเช่นเดียวกับเห็ดนางฟ้า

เห็ดตีนแรด ใช้เวลาเจริญในระยะเส้นใยประมาณ 2 – 2.5 เดือน เมื่อเส้นใยเริ่มรวมตัวเพื่อเกิดดอก มีวิธีการทำให้เกิดดอกดังนี้
1. ตัดปากถุง ใส่ดินร่วนผสมปูนขาว 1 % และน้ำให้ความชื้น 60 – 70 % ปิดทับก้อนเชื้อหนาประมาณ ½ นิ้ว
2. แกะพลาสติกออก บรรจุก้อนเชื้อเห็ดลงในหลุมที่ไม่มีน้ำขัง ลึกเท่ากับความสูงของก้อนเชื้อ เกลี่ยดินปิดหน้า ให้ความชื้น คลุมด้วยพลาสติกสูงจากพื้นประมาณ 50 เซนติเมตร คลุมทับด้วยฟาง หญ้าแห้ง หรือแฝกคากันแสงแดด

เห็ดยานางิ ใช้เวลาเจริญในระยะเส้นใยประมาณ 40 – 50 วัน เส้นใยเห็ดยานางิหลังจากเจริญเต็มอาหารจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ถอดสำลีและคอขวด รักษาอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ให้เหมาะสม

การเก็บผลผลิต
เห็ดนางรม นางฟ้า ฮังการี ภูฎาน นางนวล เป๋าฮื้อ เก็บเมื่อดอกบานเต็มที่ แต่ขอบหมวกยังไม่บานย้วย
เห็ดหูหนู เก็บเมื่อดอกบานย้วยเต็มที่
เห็ดตีนแรด เก็บในขณะที่ขอบหมวกเห็ดยังงุ้มอยู่
เห็ดยานางิ เก็บเมื่อกลุ่มดอกเห็ดโตเต็มที่ แต่ขอบหมวกเห็ดยังงุ้มอยู่และเยื่อที่ยึดขอบหมวกกับก้านเห็ดยังไม่ขาดออกโดยมีส้นผ่าศูนย์กลางหมวกประมาณ 3-10 เซนติเมตร และก้านยาวประมาณ 5-11 เซนติเมตร
ควรเก็บดอกเห็ดในช่อเดียวกันให้หมด อย่าให้มีเศษเหลือติดค้างอยู่กับก้อนเชื้อ เนื่องจากจะทำให้เน่า เชื้อโรค แมลงจะเข้าทำลายได้

————————————————————————————————————

ที่มาของข้อมูล: สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ กรมวิชาการเกษตร

————————————————————————————————————-

การเพาะเห็ดนางฟ้าภูฐาน

การเพาะเห็ดนางฟ้าภูฐาน

จัดเป็นเห็ดเศรษฐกิจอีกหนึ่งที่เป็นที่นิยมบริโภคของบุคคลทั่วไป เป็นเห็ดที่เพาะง่าย มีอายุการพักเชื้อที่สั้น เพาะได้เกือบทุกฤดูยกเว้นในช่วงฤดูร้อน เพราะเห็ดชอบอากาศเย็นชื้น ในการเพาะเห็ดนางฟ้าภูฐานนิยมใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพาราเป็นวัสดุเพาะ เพราะเป็นวัสดุที่ให้ผลผลิตสูงและเก็บผลผลิตได้นาน เฉลี่ยประมาณ ๔ เดือน และมีวิธีการเพาะที่ง่าย คุ้มทุน อีกทั้งยังดูแลรักษาง่าย นอกจากขี้เลื่อยไม้ยางพารา ยังมีวัสดุอีกหลายอย่างที่สามารถนำมาเพาะได้ เช่น ฟางข้าว แต่วิธีการที่ซับซ้อนกว่าและมีระยะเวลาในการให้ผลผลสั้น ดังนั้นจึงขอแนะนำการเพาะเห็ดนางฟ้าด้วยขี้เลื่อยไม้ยางพารา การเพาะเห็ดนางฟ้าภูฐานในถุงพลาสติก
 ——————————————————————————–
 สูตรอาหารเพาะเห็ด

 ขี้เลื่อยไม้ยางพารา ๑๐๐ กก.
 รำละเอียด ๕ กก.
 ปูนขาว ๑ กก.
 ยิปซั่ม ๐.๕ กก.
 ดีเกลือ ๐.๒ กก. 
ความชื้น ๖๐ – ๗๐ % (ดูตามสภาพของขี้เลื่อย) ——————————————————————————–
 วิธีทำ

๑. ผสมสูตรอาหารทั้งหมดเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน 
๒. เพิ่มความชื้นโดยการรดน้ำให้มีความชื้น ๖๐ – ๗๐% 
๓. อัดถุงขนาด ๖.๕ x ๑๒.๕ น้ำหนัก ๘๐๐ กรัม/ถุง
๔. อัดให้แน่นใส่คอพลาสติกจุกด้วยสำลีและปิดด้วยกระดาษ 
๕. นึ่งฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งแบบไม่ใช้ความดัน ๓ ซม. อุณหภูมิประมาณ ๙๕ – ๑๐๐ องศาเซลเซียล
 ๖. เมื่อครบตามเวลาปล่อยให้เย็นและทำการใส่เชื้อเห็ดจากเมล็ดข้าวฟ่าง
 ๗. ทำการพักเชื้อประมาณ ๓๐ วัน โดยการเก็บไว้ในโรงพักเชื้อไม่ให้โดนแสงแดดและความชื้น หากพบว่าก้อนเชื้อเกิดราดำหรือราเขียว ให้รีบแยกออกเพื่อทำลายป้องกันการระบาดของเชื้อ ——————————————————————————–
 วิธีดำเนินงาน

๑. ผสมอาหารเพาะเห็ด (ขี้เลื่อยไม้ยางพารา ๑๐๐ กก. + รำละเอียด ๕ กก. + ยิปซั่ม ๐.๕ กก. + ปูนขาว ๑ กก. + ดีเกลือ ๐.๒ กก.)
 ๒. บรรจุอาหารเพาะลงในถุงพลาสติกทนร้อน
 ๓. รวบปากถุงบีบไล่อากาศออก แล้วอัดถุงให้แน่น
 ๔. นำไปนึ่งฆ่าเชื้อด้วยถังนึ่ง ไม่อัดความดัน อุณหภูมิประมาณ ๙๕ – ๑๐๐ องศาเซลเซียส ประมาณ ๓ ชั่วโมง
 ๕. นำถุงอาหารเพาะเห็ดมาใส่เชื้อเห็ดนางฟ้า
 ๖. นำมาพักเชื้อประมาณ ๓๐ วัน
 ๗. นำไปเปิดดอก โดยการเปิดจุกสำลีออก 
๘. เก็บผลผลิตและทำการรดน้ำ
 ——————————————————————————–
 การเก็บผลผลิต
 
ให้ดึงดอกเห็ดออกมาทั้งโคนอย่าให้มีเศษของก้านดอกติดอยู่ในปากถุงเพราะจะทำให้ก้อนเชื้อเห็ดเน่า หลังจากเก็บดอกเห็ดแล้วให้รดน้ำเพื่อปรับสภาพความชื้น ——————————————————————————–
 โรค – แมลง การดูแลรักษา

โรคของเห็ดนางฟ้าภูฐาน ได้แก่ ราดำ ราเขียว ราจุดไข่ปลาและราส้ม ส่วนมากราดำและราเขียวจะเกิดในช่วงของการพักเชื้อ ทั้งนี้อาจจะติดเชื้อมาจากช่วงของการใส่เชื้อเห็ด เนื่องจากสถานที่ใส่เชื้อมีลมแรงหรือสถานที่ไม่สะอาด อาจเกิดจากขั้นตอนการนึ่งก้อนเชื้อที่ใช้ความร้อนไม่สูงพอ การแก้ไข ควรนึ่งก้อนเชื้อเห็ดด้วยความร้อนประมาณ ๙๕ – ๑๐๐ องศาเซลเซียส เป็นเวลานาน ๓ – ๔ ชม. และควรมีสถานที่ที่ทำการใส่เชื้อสะอาดไม่มีลมพัดก็จะช่วยป้องกันโรคได้ ***************************************************************** 
แหล่งที่มาของข้อมูล: - สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)